วิธีตัดเหตุแห่งทุกข์
ตัณหาทำให้คนเกิด จิตของผู้มีตัณหาย่อมซัดส่ายไปมา หมู่สัตว์มัวท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของเขา
อานิสงส์รักษาอุโบสถศีลครึ่งวัน
กามแม้น้อย ก็ไม่พอแก่มหาชน มหาชนย่อมไม่อิ่มในกามแม้มาก น่าสลดใจที่พวกคนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียงเหล่านี้ จงมีแก่เรา กุลบุตรผู้ประกอบด้วยความเพียร พึงเว้นให้ขาดเถิด
มหากัณหชาดก-ชาดกว่าด้วยคราวที่สุนัขดำกินคน
ตั้งแต่พระพุทธศาสดาทรงตรัสรู้บรรลุสัมโพธิญาณ แสดงพระธัมมจักกัปวัตนสูตรแก่พระปัญจวัคคีย์ แสดงอาทิตตปริยายสูตรโปรดชฏิล 3 พี่น้อง โปรดองคุลิมาล คนบาปจนตั้งอยู่ในอรหัตผล เสด็จโปรดเหล่าเทวดา 80 โกฏิจนบรรลุธรรม
กัณฑินาชาดก-ชาดกว่าด้วยโทษของการตกอยู่ในอำนาจสตรี
กุลบุตรตระกูลพราหมณ์ผู้หนึ่ง มีโอกาสได้ฟังธรรมในพระเวฬุวันอันเป็นอารามแรกในพระพุทธศาสนาก็ศรัทธาจนแก่กล้า ประพฤติตนอยู่ในหลักคำสอนตั้งแต่นั้น
วิธุรบัณฑิต บำเพ็ญสัจบารมี (๑)
ช่วงชีวิตของคนเรานั้นสั้นนัก การยอมเสียเวลาเพื่อลงทุนทำอะไรสักอย่างหนึ่ง จะต้องใคร่ครวญให้ดี เพื่อให้คุ้มค่ากับเวลาและเงินตราที่เสียไป
วิธุรบัณฑิตบําเพ็ญสัจจบารมี (1)
นรชนผู้กำหนัดในกาม ยินดีในกาม หมกมุ่นอยู่ในกาม กระทำบาปกรรมแล้ว ย่อมเข้าถึงทุคติ ส่วนนรชนเหล่าใด ละกามทั้งหลายได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ บรรลุความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว นรชนเหล่านั้นย่อมไม่ไปสู่ทุคติ
มงคลที่ ๓๓ เห็นอริยสัจ - พระปิณโฑลภารทวาชเถระ ตอนที่ ๔
พระเถระอธิบายให้ฟังว่า "ขอถวายพระพรมหาบพิตร พระบรมศาสดาตรัสสอนไว้ว่า...มาเถิดภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงตั้งจิตว่า ผู้นี้เป็นมารดา ในหญิงผู้ที่พอเป็นมารดาได้ ส่วนหญิงผู้ที่พอเป็นพี่สาว น้องสาวและลูกสาว พวกเธอจงคิดว่าเป็นพี่สาว เป็นน้องสาวและเป็นลูกสาว...ด้วยวิธีการอย่างนี้แหละ จึงเป็นเหตุให้พระภิกษุหนุ่มทั้งหลาย ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์อยู่ได้จนตลอดชีวิต"
มงคลที่ ๑๘ ทำงานไม่มีโทษ - อามิสสุข นิรามิสสุข
เราต้องรู้จักเลือกประกอบแต่สัมมาอาชีวะ ให้ธุรกิจกับจิตใจไปด้วยกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงมิจฉาอาชีวะ ที่ไม่ควรประกอบไว้ ๕ อย่าง คือ ค้าอาวุธ ค้ามนุษย์ ค้ายาพิษ ค้าสุรายาเสพติด และค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า นอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงอาชีพที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม และไม่ผิดศีลผิดธรรมด้วย
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๒ )
พระราชาพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า นัคคชิ พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นหญิงคนหนึ่งที่สวมกำไลแก้วมณี แล้วทรงดำริว่า กำไล แขนนี้ เมื่ออยู่ข้างละอันไม่กระทบกัน ครั้นเมื่อย้ายมาอยู่รวมกันจึงกระทบกัน สัตว์ทั้งหลายก็เช่นเดียวกัน หากแยกกันอยู่จะไม่ส่งเสียง ไม่ทำร้ายกัน เมื่อมี ๒ คน หรือ ๓ คนขึ้นไป จะกระทบกระทั่งกัน มีการทะเลาะวิวาททำร้ายกันเป็นต้น
มงคลที่ ๖ ตั้งตนชอบ - แรงบันดาลใจ ( ๑ )
พระราชาทรงมองดูลำต้น พลางดำริว่า ต้น มะม่วงต้นนี้ เมื่อเช้านี้เอง ยังเต็มไปด้วยผล เป็นพวงสวยงาม ทำความอิ่มตาเบิกบานใจให้แก่ผู้พบ เห็นที่ผ่านมาผ่านไป มาบัดนี้ ถูกเก็บผลหมดแล้ว มีกิ่งหักห้อยรุ่งริ่งดูไม่งาม แม้เราก็ควรเป็นเหมือนต้นไม้ที่ไม่มีผล พระองค์ทรงกำหนดไตรลักษณ์เช่นนี้ ทรงเจริญวิปัสสนา จนได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณ